“จากการเปิดหัวข้อ เรื่องนี้มา แน่นอนว่าแอดมินเห็นถึงประโยชน์ต่อคนอ่านๆๆ!! เพราะในปัจจุบันคนนิยมดื่มกาแฟ กันแทบทุกวัน จนติดแล้ว และกาแฟโดยทั่วไปมักมีนม น้ำตาล คอฟฟี่เมท ก่อให้เกิดความอ้วนตามมา คนจึงนิยมมองหาตัวช่วย จากการดื่มกาแฟ เน้นส่วนผสมที่ช่วยลดน้ำหนัก และก็ตอบเลยว่า ตอนนี้ในปัจจุบันมีขายเยอะมากมายหลายยี่ห้อ”
ผู้ผลิตก็มักจะเน้นใส่สาร เพื่อให้ได้ผลเร็ว หมายถึง ลดน้ำหนักได้ดี หรือการขับถ่ายได้ดี แต่ไม่มีใครตอบได้เลยว่า ร่างกายของมนุษย์รับกับสารพวกนี้ได้มากแค่ไหน ก็เห็นได้ตามยุคสมัยปัจจุบันที่ คนที่เป็น โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดัน สาเหตุก็มาจากสารพวกนี้นี้แหละ ตัวดีเลยนะคะ
วันนี้แอดมินจะเอาข้อมูล อย. ที่ถูกต้อง มาให้อ่านกัน และจะกาข้อมูลมาสนับสนุนว่า เราควรดื่มกาแฟลดน้ำหนักมากแค่ไหนด้วย อ่านได้จากข้างล่างเลยค่ะ!
ดื่มกาแฟส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
- กาแฟกระตุ้นการขับน้ำส่งผลในปัสสาวะบ่อย จึงควรดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- กาแฟทำให้อัตราเต้นของหัวใจและความดันเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในระยะสั้น ๆ แต่ไม่เป็นผลถาวร
- กาแฟทำให้นอนหลับยากขึ้นส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอได้ ดังนั้นไม่ควรดื่มเวลาใกล้นอน
- แคลอรี่ที่ตามมาจากส่วนผสมของกาแฟ เช่น นม น้ำตาล ครีมเทียม หรือวิปครีม เป็นต้น อีกทั้งของว่างที่กินคู่กับกาแฟ ทำให้ร่างกายได้รับแคลอรี่เพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ของกาแฟที่หลายคนยังไม่รู้
- จากงานวิจัยพบว่า คาเฟอีนในกาแฟทำให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ร่างกายใช้แคลอรี่มากขึ้น เพราะฉะนั้นกาแฟสามารถช่วยลดน้ำหนักได้
- จากงานวิจัยพบว่า กาแฟสามารถลดโอกาสเกิดโรคเบาหวาน (Type2) ได้ อีกทั้งกาแฟมีสารเคมีที่สามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายได้
- จากงานวิจัยยังยืนยันได้ว่า กาแฟไม่ได้ทำให้โอกาสการเกิดโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งกาแฟยังช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งตับและลำไส้ และลดโอกาสเกิดโรค Parkinson’s ได้อีกด้วย
- กาแฟสามารถช่วยลดอาการสำหรับคนที่เป็นไมเกรนและหอบหืดได้
- กาแฟเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องหรือแบบ Aerobic exercise ได้
- กาแฟเป็นแหล่งของ antioxidants ถึงแม้จะมีจำนวนไม่มากและคงสู้ผักผลไม้ไม่ได้ แต่กาแฟก็เป็นแหล่งที่คนอเมริกาได้รับ antioxidants มากที่สุด
สารอะไรที่อยู่ในกาแฟลดความอ้วนแล้วอันตราย
ตอบ: สารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์กาแฟ
รูปภาพ: โครงสร้างทางเคมี ไซบูทรามีน (Sibutramine)
ที่มา : ของข้อมูล
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมวัตถุเสพติด
- ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
📌สารไซบูทรามีน คืออะไร?
ไซบูทรามีน คือ ยาที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ถูกนำไปใช้กับอาหารเสริมลดน้ำหนัก แต่ในอดีตเคยมีรายงานว่าเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทำให้ใจสั่น มีผลกระทบกับหลอดเลือด และระบบหัวใจ จนถึงขั้นเสียชีวิต จึงถูกนำออกจากบัญชีทะเบียนตำรับยาไปนานแล้ว และไม่มีขายตามร้านขายยาโดยทั่วไปแล้ว
ไซบูทรามีนมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของยาลดความอ้วน และถูกลักลอบนำไปใส่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม พบมากในผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณลดน้ำหนัก รวมทั้งใส่ในผลิตภัณฑ์กาแฟด้วย
ไซบูทรามีน (Sibutramine) ถือว่าเป็นวัตถุ ที่มีการออกฤทธิ์ประเภทที่ 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 โดยได้ยกเลิกนำออกจากทะเบียนตำรับยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เนื่องจากมีรายงานถึงผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้นะคะ
การออกฤทธิ์ของไซบูทรามีน
- จะไปยับยั้งการดูดเก็บกลับของสารสื่อประสาทบางประเภท เช่น Serotonin, Norepinephrine ทำให้สารเหล่านี้ทำงานนานขึ้นนั้นเองค่ะ
- ทำให้ความอยากอาหารลดลง อิ่มเร็วขึ้น และอิ่มนานทั้งวันโดยไม่ต้องกินอะไรเลย
- ช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ข้อห้ามใช้สารไซบูทรามีน
- ห้ามใช้ Sibutramine ในผู้ป่วยที่: ภาวะทางจิตเวชเช่นbulimia nervosa , anorexia nervosa , ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงหรือความบ้าคลั่งที่มีอยู่ก่อน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติหรือมีแนวโน้มที่จะใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิดความรู้สึกไวต่อยาหรือส่วนผสมที่ไม่ใช้งาน
- ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปีขึ้นไปอายุ 65 ปี
- ผู้ที่การรักษาด้วยกันด้วยการยับยั้ง MAO , ยากล่อมประสาทหรืออื่น ๆ
- ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหลอดเลือดส่วนปลาย
- คนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ ไม่ได้รับการควบคุมอย่างเพียงพอ (เช่น> 145/90 mmHg)
- ประวัติความเป็นมาของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบประวัติของกล้ามเนื้อหัวใจตาย) หัวใจล้มเหลวหัวใจเต้นเร็วโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือโรคหลอดเลือดสมอง (โรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะขาดเลือดชั่วคราว (TIA)
- โรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะขาดเลือดชั่วคราว (TIA)
- Hyperthyroidism (ต่อมไทรอยด์ที่โอ้อวด)
- ต้อหินมุมปิด
- การขยายตัวของต่อมลูกหมาก
- Pheochromocytoma
- หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ข้อควรระวังในความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้
- ความดันโลหิตสูงในปอดที่มีอยู่
- ความเสียหายที่มีอยู่ของลิ้นหัวใจ
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- หัวใจล้มเหลว
- กล้ามเนื้อหัวใจ
ผลข้างเคียง
- พบเหตุการณ์เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดจำนวนมากขึ้นในผู้ที่รับประทาน Sibutramine เทียบกับกลุ่มควบคุม (11.4% เทียบกับ 10.0%)
- ในปี 2010 FDA ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความกังวลที่ว่า Sibutramine จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ที่พบบ่อยมีผลข้างเคียง คือ ปากแห้งเพิ่มความอยากอาหารขัดแย้งคลื่นไส้ , รสชาติแปลกในปาก , ปวดท้อง, ท้องผูก, ปัญหาการนอนหลับ, เวียนศีรษะ, ง่วงนอนปวดประจำเดือน / ปวด, ปวดหัว, ล้างหรือปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
โทษของไซบูทรามีน
- ปากแห้ง ดื่มน้ำแล้วก็ไม่หายคอแห้ง
- กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้สึกถึงรสชาติของอาหาร
- เวียนหัว คล้ายอาการเมา
- ปวดหัว เนื่องจากความดันโลหิตขึ้นสูง
- คลื่นไส้ ถึงขั้นอาเจียน
- ท้องผูก ระบบขับถ่ายรวน
- นอนไม่หลับ
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- ปวดตัว ปวดข้อ
ใช้ทางการแพทย์อย่างไร?
ตอบ: Sibutramine ถูกใช้เพื่อลดความอยากอาหารเพื่อวัตถุประสงค์ในการลดน้ำหนักในการรักษาผู้ป่วยโรคอ้วน
ข้อกฎหมายคุ้มครอง
ตอบ: ในอดีตประเทศไทยเคยมียาไซบูทรามีนทางการค้าเพียงชื่อเดียวที่ได้รับขึ้นทะเบียนตำรับยา คือ รีดักทิล (Reductil) ชนิดแคปซูล 10 มิลลิกรัม และ 15 มิลลิกรัม ภายหลังทางบริษัทผู้จำหน่ายขอยกเลิกทะเบียนตำรับยา
คำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตั้งแต่ 11 ตุลาคม 2553 ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 72(5) ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำเข้ายาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก จะต้องได้รับโทษตามมาตรา 120 วรรคสอง คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือมาตรา 120 วรรคสาม ถ้ากระทำโดยไม่รู้ว่าเป็นยาทะเบียนตำรับถูกยกเลิก ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท แล้วแต่กรณี
เนื่องจากไซบูทรามีน (Sibutramine) ถูกยกระดับเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561 ส่งผลให้ลงโทษผู้กระทำผิดที่นำไปผสมกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
- โทษคือผู้ใดที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นส่วนผสม จะต้องรับโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี
- ปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท ตามมาตรา 115 วรรคหนึ่ง
- ถ้าผลิตเพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 7-20 ปี และปรับตั้งแต่ 7 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาทตามมาตรา 115 วรรคสอง
- ผู้ใดขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท ตามมาตรา 116
- ผู้ใดครอบครองจะมีโทษจำคุก 1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 140
- รวมไปถึงผู้ที่รับประทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นความผิดด้วย โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 141
กาแฟลดความอ้วน ยี่ห้อ อันตราย?
ตอบ: ในข้อนี้แอดมินไม่สามารถกล่าวถึงชื่อแบรนด์ได้เองมั่วๆนะคะ แต่แอดมินไปหาข้อมูลจากแบรนด์ที่เกี่ยวข้อมาให้ เพราะเดี๋ยวแอดมินจะโดนฟ้องร้องเอา แต่แอดมินแนะนำให้ดูสารที่แอดมินพูดถึงไปข้างบน ถ้ายี่ห้อไหนมีต้องหลีกเลี่ยงเลยนะคะ เพราะอันตรายถึงชีวิตได้เลย ดูจากที่ อย. ประกาศก็ได้ค่ะ
อย.เผยผลตรวจพิสูจน์อาหาร พบสารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์กาแฟหลายยี่ห้อ
อย.ประกาศผลตรวจผลิตภัณฑ์กาแฟ 3 ยี่ห้อ ที่เคยตรวจจับพบสารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนดังคาด ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟที่แสดงฉลากอวดอ้างทำให้ผอมทั้งสิ้น จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์มีสิ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ มีสารเจือปนอยู่ แจ้งเตือนผู้จำหน่าย และแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งด่านอาหารและยาให้เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กาแฟดังกล่าว และผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีฉลากอวดอ้างลดความอ้วน มิให้เข้ามาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคแล้ว
จากการที่สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารจากการร้องเรียนของผู้บริโภค โดยได้เก็บ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
กาแฟจาก “ร้านบ้านสมุนไพร” เลขที่ A 3/7 ชั้น 1 ห้างโลตัส สาขาบางกะปิ ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
และได้ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์กาแฟ เพื่อตรวจวิเคราะห์ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จํานวน 3 รายการ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเลขสารบบอาหารในกรอบ เครื่องหมาย อย. และแสดงฉลากอวดอ้างลดความอ้วน ได้แก่
- กาแฟบรรจุกระป๋องโลหะทรงกลม ฉลาก สีขาว-แดง ระบุข้อความ “กาแฟมหัศจรรย์ 26 วัน ผอม…มี 26 ซอง บรรจุซองละ 10 กรัม”
- กาแฟบรรจุ รวมในกระป๋องโลหะทรงรี ฉลากสีดํา-แดง ระบุข้อความ “สําหรับคนดื้อ (ลดยาก) Brazil Potent Slimming Coffee ขนาด 10 กรัม/ถุง x 26 ถุง…ผู้ร่วมผลิต:บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพอ้ายซื่อหยวนเยอรมันนีกรุ๊ป จํากัด บริษัท ผลิตภัณฑ์บํารุงสุขภาพไร่ฝางซินเพิ่ง จํากัด เลขที่ 29 ถนนเหอผง เขตไห่เฉิน เมืองไร่ฝาง”
- กาแฟบรรจุกล่องกระดาษรูปทรงสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลทอง รูปถ้วยกาแฟ ระบุข้อความ “Slimming Coffee Lishou Instant Coffee Net.WT : 150 g (10 g * 150 bags)…” Batch number: 120510 Production date:2012/05/10 Valid Date: 2014/05/09
ปรากฏผลวิเคราะห์ พบสารไซบูทรามีน (Sibutramine) ในผลิตภัณฑ์กาแฟ ทั้ง 3 รายการ จึงจัดเป็นอาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ ถือเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์
Review ยี่ห้อกาแฟอันตราย
📌1.กาแฟมหัศจรรย์ 26 วัน ผอม
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- กาแฟบรรจุกระป๋องโลหะทรงกลม ฉลาก สีขาว-แดง ระบุข้อความ
- ระบุข้อความ “กาแฟมหัศจรรย์ 26 วัน ผอม”
- มี 26 ซอง
- บรรจุซองละ 10 กรัม
- สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร จากการร้องเรียนของผู้บริโภค
- ตรวจพบสารอันตราย คือ สารไซบูทรามีน
- เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟลกความอ้วน
- แสดงฉลากอวดอ้างทำให้ผอม
- จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์มีสิ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ มีสารเจือปนอยู่
📌2.กาแฟสําหรับคนดื้อ (ลดยาก) Brazil Potent Slimming Coffee
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- กาแฟบรรจุกล่องกระดาษรูปทรงสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลทอง รูปถ้วยกาแฟ
- ระบุข้อความ “Slimming Coffee Lishou Instant Coffee Net.WT”
- ขนาด 150 g
- 10 g * 150 bags
- Batch number: 120510 Production
- date:2012/05/10
- Valid Date: 2014/05/09
- สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร จากการร้องเรียนของผู้บริโภค
- ตรวจพบสารอันตราย คือ สารไซบูทรามีน
- เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟลกความอ้วน
- แสดงฉลากอวดอ้างทำให้ผอม
- จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์มีสิ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ มีสารเจือปนอยู่
📌3.กาแฟ Slimming Coffee Lishou Instant Coffee Net.WT
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- กาแฟบรรจุ รวมในกระป๋องโลหะทรงรี ฉลากสีดํา-แดง
- ระบุข้อความ “สําหรับคนดื้อ (ลดยาก) Brazil Potent Slimming Coffee”
- ขนาด 10 กรัม/ถุง x 26 ถุง
- ผู้ร่วมผลิต: บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพอ้ายซื่อหยวนเยอรมันนีกรุ๊ป จํากัด บริษัท
- ผลิตภัณฑ์บํารุงสุขภาพไร่ฝางซินเพิ่ง จํากัด เลขที่ 29 ถนนเหอผง เขตไห่เฉิน เมืองไร่ฝาง
- สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร จากการร้องเรียนของผู้บริโภค
- ตรวจพบสารอันตราย คือ สารไซบูทรามีน
- เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟลกความอ้วน
- แสดงฉลากอวดอ้างทำให้ผอม
- จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์มีสิ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ มีสารเจือปนอยู่
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ตรวจพบสารอันตราย ไซบูทรามีน
(อ้างอิง ข้อมูลจากระบบแจ้งเตือนภัยฐานข้อมูลคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข)
- โยเอส YOS อย 24-1-20555-1-0991
- L-FIN by LUK-SAM-RONG(แอล-ฟิน by ลูกสำรอง) อย 74-2-03357-1-0180
- IDOL SLIM COFFEE อย 10-1-09050-1-0073
- IDOL SLIM APPLE อย 10-3-09980-1-0765
- LIKE SLIM COFFEE อย 10-3-09980-1-0778
- เซเว่น เดย์ เซเว่น ดี (7 Day seVen d) อย 10-1-13058-1-0001
- NINETRICAPS G 467/46
- IDOL BERRY PLUS อย 10-3-09980-1-0766
- BOXY INDELAR อย 74-2-03357-1-0070
- ไฟเบอร์รี่ อย 10-1-03958-1-0047
- กาแฟ Slimming Coffee ไม่ระบุ
- ชะเหลียว อย 24-1-09957-1-0165
- ชะเหลียว อย 13-1-15857-1-0214
- GREEN TEA PLUS ไม่พบเลขทะเบียน
- PANACEA SLIM PLUS อย 10-1-10858-1-0011
- V-ZONE DIETARY SUPPLEMENT PRODUCTอย 11-1-11054-1-0537
- S-SECRET เอส-ซีเครท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาร์จิ้น ซายย์ แคพ อย 74-2-03357-1-0073
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอส-เท็น S ~ 10 อย. 24-1-20555-1-0862
- LUK SAM RONG ลูกสำรองลดน้ำหนัก อย. 13-1-13557-1-0017
- Olive club
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คอลวีว่า อย.74-2-03357-1-0096
- Rasberry Ketones Diet อย. 10-1-09050-1-0046
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคุมน้ำหนัก Asia Slim
- The eight อย.74-2-03357-1-0170 / อย.24-1-20555-1-0634
- คาร์โรไลน์
- BASCHI บาชิ ควิกสลิมมิ่ง แคปซูล
- แกลโล (Kallow) อย. 74-2-03357-1-0156
- Slimming Coffee QS5301 0601 0203
- Li Da Weight Loss Capsule
- I love Slime
- สกินนี่ ไวท์
- Mang Luk Power slim อย 89-1-04151-1-0080
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Lishou Slimming Coffee
- ภัททรา (Shimmer by Patha) อย. 20-1-06358-1-0052
- Finale อย.74-2-03357-1-0242
- Paya slim plus อย. 13-1-09849-1-0178
- KAYBEE Perfect อย. 12-2-00129-1-0247
- Alert เรียว ไวท์ อย. 11-1-11054-0009
- Skinny Slim King Diet สูตร 1
- Skinny Slim King Diet สูตร 2
- NINETRICAPS G457/49
- Piano KARO อย 11-1-11054-1-0198
- ดับเบิ้ลเพรียว (Double Pure) อย 12-2-00129-1-0129
- Seoul Slim โซล สลิม อย 12-2-00129-1-0173
- 45 Double Pure ดับเบิ้ลเพรียว ชนิดชงดื่ม รส องุ่น+มัลเบอร์รี่ อย 12-2-00129-1-0125
- SUPER BURN ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีฟินน์ อย 74-1-07455-1-0157
- ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม P – MARK Lishou
- lishou FULING JIAONANG
- ดับเบิลเพรียว (Double Pure) อย 12-2-00129-1-0129